เตรียมพร้อม! รับมือโลกหลังโควิด กับ 8 ความเปลี่ยนแปลงที่องค์กรธุรกิจต้องรู้ โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา



      เมื่อวันก่อนผมอ่านผลการวิจัยของ Mckinsey บริษัทที่ปรึกษาชื่อดังระดับโลก ที่ทำการศึกษาว่า หลังวิกฤตโควิดผ่านพ้นไป รูปแบบการทำงานในด้านต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
               

       เห็นว่าน่าสนใจดี เลยขอหยิบบางส่วนมาเล่าให้ฟัง ดังนี้
               

     1. ด้านการขายและการจัดจำหน่าย (Sales & Channels)


     จะเปลี่ยนจากจุดขาย (Point of Sales - POS) ขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารขนาดใหญ่ ไปเป็นจุดขายขนาดเล็ก ที่กระจายตัวอยู่ทั่วไป เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น ในบ้านเราสมัยก่อนมีร้านอาหารขนาดใหญ่ อย่าง มังกรหลวง, ตำหนักไทย, 13 เหรียญ เป็นต้น ที่ปัจจุบันล้มหายตายจากไปเกือบหมด หรือไม่ก็ลดขนาดให้เล็กลง
               

     2. ด้านตัวสินค้า (Products)


     จะเปลี่ยนจากสินค้าที่มีความสลับซับซ้อน ใช้งานยาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง มาเป็นสินค้าที่ใช้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาวิธีการใช้งานนาน ขนส่งสะดวก ประกอบได้เอง เพื่อให้เหมาะกับการขายออนไลน์และจัดส่งทางไปรษณีย์ ตัวอย่างที่เห็นในบ้านเรา เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่แทบไม่ต้องอ่านคู่มือการใช้งานเลย ขนาดเล็กกระทัดรัด ขนส่งสะดวก ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ทันทีที่แกะกล่องออกมา เป็นต้น



               

     3. ด้านการให้บริการ (Services)


     จะเปลี่ยนจากการที่ต้องไปรับบริการ ณ สถานที่ที่ให้บริการ ไปเป็นการให้บริการทางไกลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบไม่ต้องเจอตัวกัน ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันหากต้องการตรวจร่างกาย ก็ต้องไปที่โรงพยาบาลหรือคลินิก เพื่อตรวจเลือดและพบแพทย์ ต่อไปจะสามารถเจาะเลือดด้วยตัวเองที่บ้าน ส่งผลทางไปรษณีย์ และนัดพบแพทย์ทางออนไลน์ ได้เลย
               

     4. ด้านพนักงานและคนทำงาน (Employees & Workforces)


     จะเปลี่ยนจากการจ้างพนักงานประจำตามเงื่อนไขมาตรฐานที่องค์กรกำหนดไว้ ไปเป็นการจ้างงานที่มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่สถานที่ทำงาน เวลาทำงาน และรูปแบบการจ้างงาน การจ้างงานแบบมาตรฐานคือทุกคนอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน กำลังจะหมดไป การจ้างงานแบบใหม่ ที่เน้นการตอบสนองความต้องการของแต่ละคน (Personalized Employment) จะเข้ามาแทนที่



               

     5. สำนักงานหรือออฟฟิศ (Offices & Workplaces)


     จะเปลี่ยนจากการทำงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ ไปเป็นการทำงานทางไกล ทำงานจากที่ไหนก็ได้ แต่ต้องสามารถเข้าสู่ระบบและฐานของมูลขององค์กรได้ ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของระบบต่างๆ ต้องสามารถรองรับรูปแบบการทำงานใหม่นี้ได้
               

     6. ด้านผู้ให้บริการและคู่ค้า (Vendors & Partnerships)


     จะเปลี่ยนจากความสัมพันธ์แบบค้าขาย ไปเป็นการทำงานแบบร่วมมือกัน ลดความซับซ้อนในการประสานงาน มีขั้นตอนและลำดับชั้นในการติดต่อน้อย (Collaborative lean partnership) และถ้าทำงานกันเข้าขาหรือถูกใจ ก็ผูกปิ่นโตกันแบบยาวๆ ไม่ต้องแสวงหาคู่ค้าใหม่อยู่ตลอดเวลา เหมือนกับที่ผ่านๆ มา



               

     7. ด้านรูปแบบการบริหาร (Management)


     จะเปลี่ยนจากหัวหน้าเป็นผู้ควบคุมดูแลและสั่งการทีมงานอย่างใกล้ชิด ไปเป็นการบริหารทางไกล ที่หัวหน้าคอยเป็นผู้ให้การสนับสนุน (Supporters) และโค้ช (Coaches) ส่วนลูกทีมที่เป็นผู้ปฏิบัติจะมีอิสระมากขึ้นในการคิดวิธีการ ลงมือทำ และรับผิดชอบผลงานของตนเอง
               

     8. ด้านการดูแลความปลอดภัย (Security)


     จะเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical) เช่น อาคารสถานที่และทรัพย์สินของบริษัท มาเป็นการโฟกัสเรื่องความปลอดภัยทางโลกออนไลน์และไซเบอร์ (Cyber Securities) มากยิ่งขึ้น


     การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เริ่มมีให้เห็นกันบ้างแล้วในบ้านเรา และเชื่อแน่ว่าจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าทวีอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นนี้
               

     เพราะฉะนั้น “จงเตรียมพร้อม” !






 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

บทความสมาชิก

4 ความท้าทาย ของธุรกิจโรงแรมรักษ์โลก เมื่อผู้บริโภคยังยึดติดกับความสบาย

เมื่อเทรนด์รักษ์โลกยังคงได้รับความนิยมและเกิดการตื่นตัวในทุกมุมโลก แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะเอื้อให้ธุรกิจก้าวสู่ถนนสีเขียว นี่คือความท้าทายในการปรับตัวรับเทรนด์รักษ์โลกของธุรกิจโรงแรม

ทำไมธุรกิจ Online Travel Agency ในไทย ถึงไม่ประสบความสำเร็จ?

เคยสงสัยกันไหม? ว่าประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากมาย มีโรงแรมทั้ง International Hotel Chain และแม้แต่ Local Chain ที่เติบโตไปในระดับโลก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Platform รับจองห้องพักในรูปแบบ OTA (Online Travel Agency) ของตนเอง

ลูกค้าขอสถานะ Confidential Guest ธุรกิจโรงแรมทำอย่างไร? ปกป้องความลับแขกได้ ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว

โดยปกติแล้วโรงแรมเราจะมีแขกประเภทหนึ่งที่ขอสถานะ Confidential Guest (CFG) ต้องการปกปิดการเข้าพักเป็นความลับทั้งเรื่องห้องพัก กิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยและ Privacy ซึ่งหลักๆ เลยก็จะเป็นแขกระดับ VIP หรือ VVIP ในความเป็น CFG ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกัน เช่น หมายจับ หมายศาล อันนี้โรงแรมก็ไม่สามารถฝ่าฝืนได้ แต่ก็ต้องตรวจสอบให้ดี